ตั้งแต่เด็กจนโตที่ผมอยู่ในเมือง ผมไม่เคยห่างไกลจากพื้นที่สีเขียวเลย ไม่ว่าจะในบ้าน บ้านทางคุณพ่อที่ไปเกือบทุกเสาร์-อาทิตย์ หรือการที่ไปเที่ยวต่างจังหวัดบ่อยครั้ง มีการได้ลงมือปลูกบ้างประปราย แต่ไม่ได้เคยศึกษาจริงจัง จนได้ไปลงมือทำและตอนไปเรียนต่อ ซึ่งทำให้ผมเข้าใจความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมในเมือง แต่ก็ยังคิดว่ายังต้องเรียนรู้อีกมาก

เมื่อปีที่แล้ว ตอนที่คุยรายละเอียดงานตำแหน่ง ‘ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม’ ที่โบ.ลาน ด้วยการที่ต้องดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายที่ โบ.ลาน ไม่ว่าจะในห้องครัว ห้องอาหาร หรือออฟฟิศ ซึ่งหนึ่งในพื้นที่นั้นก็คือ สวนโบ.ลาน ซึ่งผมรู้ว่าต้องเรียนรู้อีกเยอะมากๆ แต่ประโยคของ เชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ ที่พูดกับผมว่า “เราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน” นั้นสร้างความมั่นใจให้กับผมได้มากทีเดียว

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

สวน โบ.ลาน สวนเพอร์มาคัลเจอร์กลางเมือง

Permaculture คือหนึ่งในวิถีการเกษตรที่เกิดขึ้นในช่วงยุค 70 เป็นการทำการเกษตรและวิถีชีวิตแบบยั่งยืน ซึ่งมีหลัก 12 ประการในการออกแบบ ที่เป็นการทำงานและอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบน้อยแต่ได้ผลมาก เมื่อพื้นที่ที่ทำได้กลายเป็นระบบสิ่งแวดล้อม

เพอร์มาคัลเจอร์ใช้ได้กับพื้นที่ทุกขนาดและสภาพแวดล้อม เพราะหลักออกแบบคือการปรับใช้กับวิถีและสภาพแวดล้อมได้ ถ้าสรุปเพอร์มาคัลเจอร์ให้สั้นๆ ว่าเป็นการทำสวนแบบไหน ก็คงเป็นคำที่เชฟโบชอบใช้คือ ‘นิยมธรรมชาติ’

นอกจากนี้ เพอร์มาคัลเจอร์ยังมีการแบ่งเป็นพื้นที่หลักๆ 5 พื้นที่ นับจาก พื้นที่อยู่อาศัย เป็น พื้นที่ใช้สอยบ่อย ปลูกสวนครัว พืชหมุนเวียนเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล พื้นที่ใช้สอยน้อย ไม้ผลหรือขาย พื้นที่กึ่งป่า ที่ยังมีของกินใช้สอยได้ และ พื้นที่ป่า เพื่อรักษาระบบนิเวศ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ต้องแบ่งเส้นเป็นพื้นที่ขนาดนั้น สุดท้ายก็ต้องดูตามพื้นที่ของเราเองว่าอยากให้ออกมาเป็นแบบไหน หรือปรับเปลี่ยนไปตามกาล ส่วนหลัก 12 ประการไปใช้กับตัวเองในชีวิตประจำวันก็ใช้ได้ผลสำหรับผลในเชิงสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน

รู้จักสวน โบ.ลาน

ก่อนผมจะกลับมาไทยนั้น สวน โบ.ลาน ได้ออกแบบและปรับเปลี่ยนโดย Openspace นำโดย พลอย-กษมา แย้มตรี ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบอย่างยั่งยืนเพื่อชุมชน รวมไปถึงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เพาะปลูก โดยนับเป็นสวนเพอร์มาคัลเจอร์ในร้านอาหารแห่งแรกของกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้

ทีม Openspace ได้แบ่งสวน โบ.ลาน เป็น 8 พื้นที่หรือสวนขนาดย่อม หากไล่จากถนนทางเข้าสู่ร้านนั้นจะเริ่มด้วย

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด
Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

1) อุโมงค์ฟอกอากาศ ที่เต็มไปด้วยพืชฟอกอากาศ และโครงไม่ไผ้สำหรับไม้เลื้อยนานาชนิด

2) สวนหน้าบ้าน เต็มไปด้วยพืชรองรับฝุ่นควันจากลานจอดรถ

3) สวนชื้นต่างระดับ ซึ่งมี Keyhole หรือแปลงปลูกผักมีรูหมักปุ๋ยตรงกลาง มีการไล่ระดับตามความชื้น ในส่วนนี้จะเน้นพืชที่กินเหง้าหรือยอด นอกจากนี้โครงสร้างแปลงยังทดลองด้วยการใช้ขวดไวน์ เพราะส่วนใหญ่ขวดไวน์จะถูกปฏิเสธจากที่จัดการขยะ เนื่องด้วยชนิดและสีแก้วที่แตกต่างจากขวดแก้วทั่วไป ทำให้มักไปจบยังพื้นที่ฝังกลบ

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

4) สวนหอม ที่มีพืชผักดอกไม้กลิ่นหอม และ Keyhole ขนาดเล็ก

5) สวนในร่ม เป็นแปลงเตี้ยสำหรับปลูกพืชที่ทั้งดูแลง่ายและสวยงามเมื่อมองจากภายในร้าน

6) สวนพืชผักระยะสั้น ได้แดดเยอะที่สุดและมีการหมุนเวียนพืชบ่อยที่สุด มีทั้งชั้นเพาะชำ แปลงยก ล่าสุดเพิ่มซุ้มเห็ดไปด้วย

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

7) สวนไม้ใช้สอย เป็นตรงที่ไม่ค่อยต้องดูแลนัก ปล่อยให้ต้นไม้อยู่กันเองซะส่วนใหญ่ และเคยมีรังผึ้งชันโรงอยู่ 3 รัง

8) สวน Spiral และกองปุ๋ย พื้นที่นี้จะแดดรำไรและชื้น โดย Spiral เป็นแปลงทรงก้นหอยที่มีการปลูกพืชไล่ตามความต้องการแดดและน้ำที่ไม่เท่ากัน ยิ่งอยู่ล้างก็ต้องการแดดน้อย ชื้นมาก ข้างๆ ก็จะเป็นกองปุ๋ยหมักสำหรับของจากในสวน เช่น ใบไม้ หญ้า กิ่งก้านต่างๆ สวน โบ.ลาน จะเน้นปลูกของที่หาตามตลาดยาก เพราะเรารู้ว่า Farm to Table กับร้านอาหารในเมืองนั้นมีความท้าทายและเป็นไปได้ยาก เนื่องด้วยพื้นที่ที่จะปลูกเพื่อใช้ทั้งร้าน และเวลาเก็บเกี่ยวก็หายเหี้ยน หรือในมุมที่เรารู้ว่าสวน โบ.ลาน จะไม่ได้สวยตลอดเวลา เพราะมันเป็นการทำสวนแบบธรรมชาติ จะมีจุดที่ไม่เต็มบ้าง แห้งเหี่ยวผุพัง หรือการบิดเบี้ยวของพุ่มและต้นไปตามสภาพแวดล้อม

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

ตอนผมมาเริ่มงานนั้น สวน โบ.ลาน ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเหมือนเป็นการส่งมอบให้ผมช่วยดูแลต่อในสวนที่ถูกวางมา ตอนอยู่นู่นผมคุ้นชินแต่กับพืชพันธุ์เมืองหนาว เรียกได้ว่าเหมือนต้องเริ่มเรียนรู้ทุกอย่างใหม่หมด ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่ได้เรียนรู้ในทุกๆ ครั้งที่ทีม Openspace มาเก็บงานส่งท้าย รวมไปถึงการได้มีโอกาสเข้าอบรมโดย ปริ๊น-นคร ลิมปคุปตถาวร หรือที่รู้จักกันในนาม ‘เจ้าชายผัก’

ผมค่อยๆ ปรับตัว ทำความรู้จักกับแต่ละพื้นที่ สังเกตการเปลี่ยนแปลง พืชบางชนิดก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ผมได้ลองแต่พืชบางชนิดก็ไม่รอด ซึ่งมีทั้งมาจากสภาพแวดล้อมและการดูของผมด้วย ที่อาจจะยังไม่เข้าใจพืชนั้นๆ สำหรับการลองปลูกต้นไม้ในบ้าน แนะนำให้หาพืชที่อยากปลูก ลองเทียบเคียงกับสภาพแวดล้อมในที่อยู่ของเราว่า แดดเป็นอย่างไรบ้าง มาช่วงเวลาไหน พื้นที่เราพอไหม แล้วตัวเราเองมีเวลาดูแลหรือเปล่า

บางทีอาจจะไม่ได้ปลูกอย่างที่ใจอยาก หรือบางทีต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ถ้าการปลูกพืชนั้นๆ ต้องมีการช่วยเหลือพืชในแง่ความชื้นและแสงแดด แต่ในบางครั้ง ก็ต้องยอมรับว่ามันมีสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เลยเช่นกัน หรือบางครั้งพืชพันธุ์ที่คิดว่าไม่น่าจะไปได้ดีในพื้นที่ของเรากลับดีอย่างเหลือเชื่อ โดยสวน โบ.ลาน นั้น ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ และไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในการดูแล

ก่อนหน้านี้ในสวนเคยมีมะเขือพวง ต้นโตเอาๆ ดอกก็ออกเต็มต้น แต่ไม่เคยมีผลเลย บางอย่างเช่นเพกา หรืองาขี้ม้อนที่ผมลองเพาะจากเมล็ด กำลังขึ้นแล้วก็ชะงักหยุดโตหรือออกอาการไม่รอด หรืออย่างต้นมะเดื่อไทย อยู่กับที่บ้านนี้มาตั้งนาน และออกผลดกแบบครัว โบ.ลาน พอใช้ในแกงอยู่สม่ำเสมอ แต่เมื่อต้นปี อยู่ดีๆ ก็แห้งตาย

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

พอลองสอบถามตั้งแต่รุกขกร เกษตรกร ยันปราชญ์ชาวบ้าน คาดว่ารากอาจโดนหนอนด้วงเจาะ ซึ่งหลังจากลองรักษาทั้งสองทางแบบธรรมชาติ ก็ไม่ทันเสียแล้ว ผ่านมาอีกระยะ เพิ่งจะเห็นรอยเจาะชัด ผักปลังที่คนเคยปลูกเวลามาที่สวนก็จะทักตลอดว่าใบใหญ่สวยมาก ไม่เคยเห็นใหญ่ขนาดนี้ หรือมะตูมแขกกับส้มซ่าที่อยู่แม้อยู่ในกระถาง แต่ออกดอกออกผลจนผมยังแปลกใจ

เก็บเกี่ยวไปด้วยกัน

สวน โบ.ลาน นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่สวน แต่ยังเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ซึ่งเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย ผมรู้สึกว่ามันมีการส่งต่อและเพิ่มพูนความรู้ไปด้วยกันตลอดเวลา แม้ว่าผลผลิตจากในสวนจะไม่ได้มากพอที่จะใช้กับในร้านแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม้ดอกไม้ใบมีไปใช้ใส่แจกันเติมสีสันให้ร้าน บางครั้งที่ผักแซมหรือดอกไม้กินได้ไปอยู่ในจานนั้นผมก็ดีใจแล้ว ซึ่งก็ได้มีโอกาสลงไปอยู่ในกล่องเสบียง โบ.ลาน อยู่เป็นครั้งคราว ส่วนมากพืชผักจะได้ไปทำเป็นอาหารพนักงาน เป็นผักแนมอยู่เรื่อยๆ หรือพนักงานก็มีนำกลับไปกินที่บ้านด้วย

จากช่วงแรกๆ ที่มีผมเข้าสวนอยู่คนเดียว ก็ค่อยๆ มีพนักงานที่สนใจอยากเรียนรู้เข้า เพื่อที่จะลองปลูกพืชพันธุ์เองที่บ้าน หรือบางคนจากที่อาจไม่ได้สนใจในเรื่องต้นไม้ จนภายหลัง สามารถพาแขกเดินทัวร์สวน มีความใส่ใจ สนใจมากขึ้น เป็นต้น ลองคิดดูว่า หากเริ่มต้นหรือปลูกไหวแค่ผักอย่างต้นหอม โหระพา กะเพรา ผักชี แต่รู้ว่าเราปลูกแล้วปลอดภัยกับเราเชิงสุขภาพและได้ใช้จริง แค่นั้นผมก็ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว ผมเคยแบ่งพืชบางชนิดให้คนรู้จักหรือลูกค้าที่สนใจไปบ้าง

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด
Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

เวลาผมเจอกับปัญหาศัตรูพืชหรือติดในเรื่องใดๆ ในการเพาะปลูก เช่นเมล็ดพันธ์ุที่เชฟโบและเชฟดิลลันได้มาจากเครือข่ายเกษตรกรหรือคนที่เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ ผมมักจะหาข้อมูลหลายทาง ถามกับหลายๆ คน เพราะแต่ละคนก็โตมากับวิถีหรือศาสตร์การปลูกไม่เหมือนกัน ซึ่งก็เป็นการลองปรับใช้ มีได้ผลบ้าง หรือบางทียังคงเป็นอะไรที่ต้องหาทางที่ใช้กับเราได้ต่อไป หลายครั้งที่ผมได้รู้ถึงเกร็ดเล็กน้อยจากพี่ๆ ที่โตมากับพืชผักต่างๆ หรือวิถีการกินการปลูก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งถือว่ายังหาคนเมืองที่มีอะไรพวกนี้ติดตัวยากพอควร เพราะคนเมืองค่อนข้างห่างไกลการเพาะปลูก ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญทีเดียวที่ทุกคนควรรู้ในเรื่องพื้นฐานพวกนี้

การทำสวนนั้นยังเชื่อมโยงมายังพื้นที่หรือกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่างที่ชัดและนำไปปรับใช้ได้ง่ายคือสวนกับครัว ผมมักจะแวะเวียนไปเวลาที่ครัวกำลังเตรียมของ เพื่อดูว่าการเตรียมของแต่ละจานเป็นอย่างไร มีส่วนไหนที่ผมเอาไปช่วยเสริมเชิงปุ๋ยแก่ต้นไม้หรือการหมักปุ๋ย แต่ที่สนุกสุด คงจะเป็นการเก็บส่วนหัว ก้าน และเมล็ด สำหรับการลองไปปลูกต่อ จนเชฟและแม่บ้านหรือพี่คนขับรถก็มีมาลองปักชำ มาโรยไว้ บริเวณแปลงยกตรงเรือนเพาะชำเลยกลายเป็นแปลงเปิดสำหรับทดลอง และต่างมาหยิบใช้กันในการทำอาหารอยู่บ่อยครั้งทีเดียว

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

ภาชนะหรือเครื่องครัวต่างๆ ยังสามารถนำมาต่อยอด ขวดน้ำผลไม้ ผมเก็บมาใส่เมล็ดพันธุ์ต่างๆ แกลลอนนมที่หมดแล้ว ผมก็เก็บมาล้างใส่ปุ๋ยหมักจากเครื่องย่อยเศษอาหารเป็นปุ๋ยโอ๊กลิน ซึ่งขายออกไปได้บ้างพ่วงไปกับกล่องเสบียงของ โบ.ลาน ร้านชำ ทำให้เห็นว่ามันมีคนที่มองหาสิ่งพวกนี้ หม้อหรือ GN ที่พัง ผมก็นำมาใช้เพาะ ตากเมล็ด หรือซึ้งที่บุบหมดสภาพก็นำมาตากแห้งดอกไม้ต่างๆ เป็นต้น

อีกอย่างที่ได้ต่อยอดจากในครัว คือการที่ครัวทำอีเอ็มผลไม้ ปกติใช้ทำความสะอาดหรือแก้ปัญหาท่อตันมีกลิ่น มีอยู่ครั้งหนึ่งต้นหนาวที่ศัตรูพืชชุกมาก ได้กลายมาเป็นส่วนผสมน้ำยาไล่ศัตรูพืชแบบธรรมชาติ รวมไปถึงการใช้บำรุงพืช

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด
Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

แต่การทำสวนภายในที่ที่มีคนจำนวนหนึ่ง มีคนเข้าออกหลายหลายกลุ่มและเวลา มันก็ไม่ใช่แค่การดูดินน้ำอากาศ แต่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมไปถึงการจัดการสิ่งของหลายอย่างที่จะผ่านเข้ามา เช่น สิ่งแปลกปลอมในสวน ที่เจอเยอะสุดคงจะเป็นก้นบุหรี่ และเศษชิ้นส่วนบรรจุภัณฑ์ของกิน ทำให้ได้เรียนรู้ในแง่การปรับแนวทางการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ โดยเรื่องพวกนี้ค่อนข้างใช้เวลา

เรามีการลองติดป้าย วางภาชนะแยกประเภทของ รวมไปถึงการอบรมหรือกิจกรรมเข้าสวน ซึ่งก็ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เนื่องจากทุกคนมีการเรียนรู้และปรับตัวช้าเร็วไม่เหมือนกัน การลองปรับไปใช้ในบ้านก็เช่นกัน ต้องคิดถึงการต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการทิ้งของนั้นๆ และการเชื่อมโยงกับลักษณะการใช้ชีวิตหรือกิจกรรมอื่นๆ ในบ้านมีเด็ก ผู้ใหญ่ หรือสัตว์เลี้ยงไหม แล้วมีความสัมพันธ์อย่างไรกับพื้นที่สีเขียว

ปรับตัวทั้งพืชและคน

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

สวน โบ.ลาน แสดงให้ผมเห็นถึงการเห็นสภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน แม้ต้นไม้ทุกต้นนั้นมีสมรรถภาพในการปรับตัวค่อนข้างสูงมาก ทุกต้นจะมีความพยายามในการอยู่รอดแต่ก็ยังคงพึ่งพาอาศัยกัน ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นระบบนิเวศ ผมค่อยๆ เห็นสวน โบ.ลาน ตอนพึ่งทำเสร็จใหม่ๆ เขียวขจีขึ้นเรื่อยๆ ไม้เลื้อยไต่โครงไม้ไผ่ มีของให้เก็บเกี่ยวไม่ขาดสาย ผึ้งชันโรงบินว่อนตามดอกไม้ต่างๆ  รังนั้นก็ดูเข้าที่ ผมตั้งหน้าตั้งตารอการเก็บน้ำผึ้งช่วงปลายมีนาคมต้นเมษายน จนช่วงต้นปีที่มีฝุ่น PM 2.5 หนักมาก บวกกับอากาศแปรปรวน ผมเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสวนชัดมาก เหมือนว่าต้นไม้หลายต้นปรับตัวไม่ทัน ล้มหายตายจากกันไปแบบไม่ทันตั้งตัว ระแนงที่เคยมีชมจันทร์บานสะพรั่งก็กลายเป็นโล่งโหวงเหวง แตงต่างๆ บนโครงไม้ไผ่ที่เคยให้ร่มและมีดอกให้เด็ดชิมรสแตงก็หายไป ภาพทิวทัศน์สวนโบ.ลาน นั้นมีแต่สีเหลืองหรือน้ำตาลแซมไปเกือบทุกที่

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

พอกุมภาพันธ์ก็มาเจอว่าผึ้งตายยกรัง ซึ่งจากการปรึกษากับคนเลี้ยงผึ้ง คาดว่าน่าจะโดนยาฆ่าแมลงหรือน้ำยาเคมีภายในรัศมีที่ผึ้งเดินทางในแต่ละวัน รวมไปถึงการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียง ที่มาทั้งเสียง ฝุ่น และแรงกระเทือน การที่โครงสร้างหลายจุดต้องมีการซ่อมบำรุง ผนวกกับการที่ร้านปิดเพื่อทำแค่ปิ่นโตกับกล่องเสบียง ทุกอย่างตอนนั้นมันเปลี่ยนเร็วมาก ผมแทบไม่ได้เข้าสวนเลย มีแค่ไปแวะไปดูบ้าง แต่สวนเองก็ค่อยๆ ปรับไปกับสภาพแวดล้อม ช่วงนั้นมันมีความป่าๆ แต่ก็ดูออกว่าไม่ได้ถูกดูแล ยอดใบและผักบางชนิดถูกเก็บไปใส่ในกล่องเสบียง โบ.ลาน หลังจากการกลับมาเปิดใหม่ ค่อยได้หายใจ ผมก็ค่อยๆ เข้าสวนฟื้นฟูทีละนิดอีกครั้ง และยังคงประสานงานในเรื่องการกลับมามีรังผึ้งชันโรงอีกครั้ง

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในไม่กี่เดือน แต่ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงสิ่งแวดล้อมที่เราต้องให้ความสนใจได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับโลก หรืออะไรที่เกิดขึ้นในย่านอยู่อาศัยของเรา ยังโยงไปถึงความสำคัญของการเข้าถึงอาหารของคนเมือง และการปลูกพืชเพื่อบริโภคสภาวะเมือง หากการขนส่งอาหารหยุดชะงัก หรือมีความยากในการออกนอกบ้าน การที่ชุมชนหรือพื้นที่อย่างโรงเรียนมีทรัพยากรอาหารเป็นเรื่องที่เราควรคำนึงถึงให้มากกว่านี้ เช่น Food Desert, ตลาดสีเขียว, Community Garden, จุดรับเศษอาหารเพื่อทำปุ๋ยหมัก หรือในแง่การให้ความรู้แก่คนทั่วไปให้ได้มากกว่านี้ รวมไปถึงหัวข้ออย่างสิ่งแวดล้อม การแยกขยะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ยั่งยืนมากขึ้นทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

สวนสื่อสาร

เรามีความตั้งใจให้สวน โบ.ลาน เป็นพื้นที่ในการสื่อสารและให้คนได้มาเรียนรู้อยู่แล้ว ผมมีโอกาสได้ต้อนรับคนที่ทำงานในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้มีแค่การชมสวนแต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ในเชิงสิ่งแวดล้อม หรือกิจกรรมเชิงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ โบ.ลาน ทำ เรามีการส่งต่อปุ๋ยที่มาจากเครื่องย่อยเศษอาหารไปยังเกษตรกรที่ปลูกผลผลิตส่งขายให้ โบ.ลาน หรือผ่านคนที่สรรหาวัตถุดิบให้ไปกระจายยังเครือข่ายเกษตรกรอีกด้วย เพราะเรามองว่าการแบ่งปันอะไรพวกนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่สำคัญ เพราะเขาเหล่านี้เป็นคนปลูกผลผลิตอินทรีย์แบบนิยมธรรมชาติให้เราได้กินได้ใช้

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด
Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

แม้แต่พืชพันธุ์ที่เลือกปลูก ยังสามารถเล่าเรื่องต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอัตลักษณ์วิถีชีวิต หรือเป้าหมายที่เราต้องการจากปลูกต้นไม้นั้นๆ เราสามารถปลูกพืชผักที่ชอบ ไม่ว่าจะชอบกินหรือเอาไว้ชม บางครั้งการปลูกไม่ต้องปลูกเพื่อให้ได้ผลในเร็ววันหรือกินทันที การปลูกเพื่อแลกเปลี่ยนกับคนอื่นก็เป็นไปได้

การปลูกของกินด้วยพื้นที่และเวลาจำกัด อาจจะลองเริ่มด้วยการปลูก ‘ไมโครกรีน’ หรือเพาะยอดอ่อนต่างๆ เพราะภายในเวลา 2สัปดาห์ ก็จะได้ของหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ตัวอย่างในครัว โบ.ลาน ที่เพาะถั่วงอกเองอยู่แล้ว เพื่อทำรายการอาหาร เช่น ผัดถั่วงอกหลากหลายพันธุ์ หรือเกาเหลาก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำตกหมู ดอกไม้ที่เอาไว้เชยชมก็นำมาทำเป็นชาได้เช่นกัน อย่างข่า ขมิ้น กระชาย ใช้เวลานานหน่อยแต่มัน ลองมองเป้าระยะเวลาในการปลูกว่าชอบพอแบบไหน แล้วปริมาณที่เราอยากจะใช้ เก็บเกี่ยว หรือเหลือแล้วเรามีคนที่แบ่งปันได้หรือไม่

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด
Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

พื้นที่สีเขียวที่มีหลากหลายองค์ประกอบ ยังบ่มเพาะความคิด แนวการใช้ชีวิตได้ ก่อนหน้านี้เราได้มีโอกาสจัดกิจกรรมร่วมกับ Little Pea จาก The Commons เป็นกิจกรรมทั้งวัน ให้ความรู้เรื่องระบบอาหาร การจัดการขยะ และการลงมือปลูกต้นไม้แบบปักชำและจากเมล็ด ซึ่งวันนั้นผมก็มีความดีใจที่เด็กๆ ที่มาเข้าร่วมนั้น มีความรู้ในเรื่องของอาหารอินทรีย์ การแยกขยะ หรือการหมักปุ๋ยอยู่แล้วด้วย และมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้เพิ่มเติม

สวนในบ้านนั้นกลายเป็นพื้นที่เรียนรู้และทำกิจกรรมกับคนในบ้านหรือคนที่มาเยี่ยมเยือนได้อย่างดี ตั้งแต่งานฝีมือ การผสมผสานเรื่องวัฒนธรรม หรือแม้แต่เรื่องเรียบง่ายที่หลายคนอาจจะแทบไม่ได้เคยทำ อย่างการเหยียบหญ้า การปีนต้นไม้ เด็ดดอกไม้ มองหาแมลง การกินตามฤดูกาลของผักผลไม้นั้นๆ เห็นส่วนผล ดอก หรือใบที่ไม่เคยเห็น เพราะปกติมีการตัดแต่งเพื่อพร้อมจำหน่ายแล้ว รวมไปถึงการรู้จักพืชผักที่มากกว่าของคุ้นตาตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ

Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด
Permaculture สวนแบบนิยมธรรมชาติของร้านโบ.ลาน เพื่อสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ในพื้นที่ขนาดจำกัด

เมืองที่คนต้องช่วยกันปลูกสร้าง

แม้ว่าสวน โบ.ลาน จะเป็นสวนเล็กๆ กลางเมือง แต่ยังแสดงความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่สีเขียวแบบยั่งยืน เพราะในขณะที่เมืองอย่างกรุงเทพฯ มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ผมว่าเราก็ควรจะคิดถึงว่าเมืองแบบไหนที่เราอยากช่วยกันปลูกสร้าง ตั้งแต่ระดับชุมชน เช่น ทางเท้าที่มีต้นไม้ สวนขนาดเล็กอย่าง Pocket Garden หรือ Community Garden ตลาดนัดสีเขียว หรืออย่างการก่อสร้างตึกรามบ้านช่องในบริเวณที่เราอยู่ไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมใช่ไหม พฤติกรรมเพื่อนบ้านรอบข้างสร้างมลภาวะหรือไม่ มีการแยกขยะกันไหม ต้นไม้ในที่สาธารณะถูกดูแลอย่างไร ไปจนถึงระดับเขตและกรุงเทพฯ โดยรวม มีหลายอย่างที่เราต้องตั้งคำถามและหาข้อมูล หาคำตอบ เพื่อให้ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ที่ง่ายที่สุดคงเริ่มด้วยตัวของเราเองในที่ที่เราอยู่อาศัย ซึ่งผมยังเชื่อว่าถ้าเราช่วยกัน หลายๆ อย่างมันจะค่อยๆ ดีขึ้น เหมือนที่ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงใน โบ.ลาน

เพาะฉะนั้น

เราต้องมองเมืองที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ ลองสังเกตชีวิตประจำวันของเรา คนรอบตัวเรา สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา ว่ามันมีการเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร แล้วเราเลือกที่จะทำอะไรบ้าง นี่ก็ใกล้จะครบหนึ่งปีที่ผมอยู่ที่ โบ.ลาน และสวน โบ.ลาน ซึ่งทุกวันที่ผมแวะเข้าไปในสวนก็ยังคงมีอะไรให้แปลกใจและสงสัยอยู่เสมอ และผมก็อยากจะเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้สวนนี้เป็นพื้นที่ที่เปิดรับ แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ความคิดในเรื่องการเพาะปลูกและสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นไป